พุทธประวัติ
พุทธประวัติ ภาพพุทธประวัติ ตอนที่15 ศุภนิมิตแห่งพิณสามสาย
Buddha
หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชาแล้ว ได้ทรงศึกษาค้นคว้า หาทางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่าง ๆ อยู่ถึง 6 พรรษา วิธีหนึ่งที่ทรงปฏิบัติคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยา
ทุกกรกิริยา เป็นการทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ เริ่มแต่ทรงกัดพระทนต์ด้วยพระทนต์
กดพระดาลด้วยพระชิวหา ผ่อนลมหายใจเข้าออกทีละน้อย เสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย จนร่างกายซูบผอม ยากที่ผู้ใดจะทำได้เท่าเทียมกับพระองค์ นับเป็นความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ โดยมีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นพยาน แต่การปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ และพระองค์ได้ทรงเลิกในเวลาต่อมา
ศุภนิมิตแห่งพิณสามสาย
พระมหาบุรุษได้กระทำความเพียรอย่างแรงกล้าถึงขั้นอุกฤษฏ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในชมพูทวีป ถึงวาระที่ 3 คือ อดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม ซวนเซแทบจะทรงพระกายอยู่ไม่ได้นั้น อุปมาญาณก็ได้เกิดขึ้นในมโนธาตุของพระองค์ว่า "อันความเพียร ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลที่หวัง ถ้าเคร่งครัดเกินไปก็ให้ผลเสียหาย" ต่อเมื่อกระทำได้พอดีทั้งกายและใจจึงจะเกิดผลต่อผู้บำเพ็ญ ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักมักขาด ต่อเมื่อพอดีจึงจะให้เสียงนิ่มนวลฟังได้ไพเราะ
ภาพนี้ พระโบราณาจารย์ได้แสดงเป็นบุคคลาธิษฐานว่า เมื่อพระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลายอยู่นั้น ท้าวสักกะเทวราช ที่คอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์ แก่ธรรมจารีชนทั้งหลายอยู่เบื้องบน ได้เห็นความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวของพระมหาบุรุษ จะไร้ผลเสียเปล่า จึงได้ถือพิณสามสาย เสด็จลงมาดีดถวาย สายที่หย่อนยาน ดีดเข้าไม่ดัง สายที่ตึงนักดีดเข้าก็ขาด สายที่สามพอดีดีดเข้าประสานเสียงกลมกลืนไพเราะ พระมหาบุรุษได้สติ จึงยึดเอาพิณสายกลางที่พอดี มาเป็นแนวทางปฏิบัติ คือตั้งความเพียรทางใจ ให้เป็นไปพอดี ไม่หย่อน ไม่ตึง จึงเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา จึงสำเร็จพระโพธิญาณสมประสงค์
บรรดาปัญจวัคคีย์ เมื่อเห็นพระองค์เลิกทุกกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหาร ก็คลายศรัทธา พากันหลีกไป
อ่านต่อ>>
หลังจากที่พระองค์ได้เสด็จออกบรรพชาแล้ว ได้ทรงศึกษาค้นคว้า หาทางตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยวิธีการต่าง ๆ อยู่ถึง 6 พรรษา วิธีหนึ่งที่ทรงปฏิบัติคือการบำเพ็ญทุกกรกิริยา
ทุกกรกิริยา เป็นการทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ เริ่มแต่ทรงกัดพระทนต์ด้วยพระทนต์
กดพระดาลด้วยพระชิวหา ผ่อนลมหายใจเข้าออกทีละน้อย เสวยพระกระยาหารแต่น้อยจนถึงไม่เสวยเลย จนร่างกายซูบผอม ยากที่ผู้ใดจะทำได้เท่าเทียมกับพระองค์ นับเป็นความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ โดยมีพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 เป็นผู้อุปัฏฐากและเป็นพยาน แต่การปฏิบัติดังกล่าวไม่ใช่ทางแห่งความตรัสรู้ และพระองค์ได้ทรงเลิกในเวลาต่อมา
ศุภนิมิตแห่งพิณสามสาย
พระมหาบุรุษได้กระทำความเพียรอย่างแรงกล้าถึงขั้นอุกฤษฏ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ในชมพูทวีป ถึงวาระที่ 3 คือ อดพระกระยาหารจนพระวรกายซูบผอม ซวนเซแทบจะทรงพระกายอยู่ไม่ได้นั้น อุปมาญาณก็ได้เกิดขึ้นในมโนธาตุของพระองค์ว่า "อันความเพียร ถ้าย่อหย่อนก็เสียผลที่หวัง ถ้าเคร่งครัดเกินไปก็ให้ผลเสียหาย" ต่อเมื่อกระทำได้พอดีทั้งกายและใจจึงจะเกิดผลต่อผู้บำเพ็ญ ดุจพิณสามสาย ถ้าหย่อนนักมักไม่ดัง ถ้าตึงนักมักขาด ต่อเมื่อพอดีจึงจะให้เสียงนิ่มนวลฟังได้ไพเราะ
ภาพนี้ พระโบราณาจารย์ได้แสดงเป็นบุคคลาธิษฐานว่า เมื่อพระมหาบุรุษบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ จวนเจียนพระชนม์จะแตกสลายอยู่นั้น ท้าวสักกะเทวราช ที่คอยให้ความช่วยเหลืออนุเคราะห์ แก่ธรรมจารีชนทั้งหลายอยู่เบื้องบน ได้เห็นความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวของพระมหาบุรุษ จะไร้ผลเสียเปล่า จึงได้ถือพิณสามสาย เสด็จลงมาดีดถวาย สายที่หย่อนยาน ดีดเข้าไม่ดัง สายที่ตึงนักดีดเข้าก็ขาด สายที่สามพอดีดีดเข้าประสานเสียงกลมกลืนไพเราะ พระมหาบุรุษได้สติ จึงยึดเอาพิณสายกลางที่พอดี มาเป็นแนวทางปฏิบัติ คือตั้งความเพียรทางใจ ให้เป็นไปพอดี ไม่หย่อน ไม่ตึง จึงเรียกว่ามัชฌิมาปฏิปทา จึงสำเร็จพระโพธิญาณสมประสงค์
บรรดาปัญจวัคคีย์ เมื่อเห็นพระองค์เลิกทุกกรกิริยา กลับมาเสวยพระกระยาหาร ก็คลายศรัทธา พากันหลีกไป
อ่านต่อ>>