เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเติบโตขึ้น ทรงได้รับการศึกษาเล่าเรียนโดยเชิญผู้รู้เป็นพราหมณ์ผู้เฒ่า ชื่อ วิศวามิตร มาสอนในวัง วิชาที่สอนก็เป็นไปตามที่สอนกันในสมัยนั้น คือ ศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ* มีการรบ เป็นต้น

เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้รับการศึกษาเพียบพร้อมบริบูรณ์ทุกแขนง ทั้งทางยุทธวิธีทหาร การปกครอง และการศาสนา ทรงได้ผ่านการชนะเลิศทุกครั้งที่มีการประลองฝีมือต่อสู้ ป้องกันตัว และทดสอบวิชาความรู้ ทุกประเภท จนพระเกียรติเลื่องลือไปทั่วชมพูทวีป

*ศิลปศาสตร์ ๑๘ หมายถึงวิชาความรู้ต่างๆ ซึ่งได้มีการเรียนการสอนกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เรียกกว่า ศิลปศาสตร์ ได้แก่ ่

๑. ความรู้ทั่วไป (สูติ)

๒. ความรู้กฏธรรมเนียม (สัมมติ)

๓. คำนวณ (สังขยา)

๔. การช่างการยนตร์ (โยคยันตร์)

๕. นิติศาสตร์ (นีติ)

๖. ความรู้การอันให้เกิดมงคล (วิเสสิกา)

๗. วิชาร้องรำ (คันธัพพา)

๘. วิชาบริหารร่างกาย (คณิกา)

๙. วิชายิงธนู (ธนุพเพธา)

๑๐. โบราณคดี (ปุราณา)

๑๑. วิชาแพทย์ (ติกิจฉา

๑๒. ตำนานหรือประวัติศาสตร์ (อิติหาสา) )

๑๓. ดาราศาตร์ (โชติ)

๑๔. ตำราพิชัยสงคราม (มายา)

๑๕. การประพันธ์ (ฉันทสา)

๑๖. วิชาพูด (เกตุ)

๑๗. วิชามนต์ (มันตา)

๑๘. วิชาไวยากรณ์ (สัททา)

อ่านต่อ>>